13 ตุลาคม 2553
รางวัลการประยุกต์ด้านฟิสิกส์เพื่ออุตสาหกรรมได้ริเริ่มขึ้นในปี 1977 โดย American Institute of Physics (AIP) เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์คุณค่าของการวิจัยฟิสิกส์ต่อภาคอุตสาหกรรม เพื่อเป็นการให้กำลังใจงานค้นคว้าวิจัยฟิสิกส์ที่มีประโยชน์ต่ออุตสาหกรรม และเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาประจักษ์ถึงความสำคัญของวิชาฟิสิกส์ในงานวิจัยของภาคอุตสาหกรรม
ปัจจุบันเป็นรางวัลที่มี 2 เจ้าภาพที่ทำหน้าที่สลับกัน คือ ระหว่าง AIP กับ American Physical Society (APS) แต่มีสปอนเซอร์หลักรายเดียว คือ บริษัท เยนเนอรัลมอเตอร์ โดยในปีที่ AIP เป็นเจ้าภาพจะให้รางวัลแก่นักวิจัย หรือ คณะนักวิจัยที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเทคโนโลยีไม่ว่าจะเป็นในแง่ผลิตภัณฑ์, กระบวนการ หรืออุปกรณ์เครื่องมือที่ได้พิสูจน์แล้วว่ามีประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมจริง ส่วนในปีถัดไปที่ APS เป็นเจ้าภาพจะให้รางวัลแก่นักวิจัยหรือคณะนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยที่มีศักยภาพโดดเด่นที่จะประสบความสำเร็จในอนาคต รางวัลที่ได้รับคือ เงินสด 10,000 เหรียญสหรัฐ ค่าเดินทางไปรับรางวัล และใบประกาศเกียรติคุณ
สำหรับในปี 2010 นี้ ได้ประกาศผลออกมาแล้วว่าผู้ที่ได้รับรางวัลมีคนเดียว คือ โรเบิร์ต สตรีท (Robert Street) จากผลงานการเป็นผู้บุกเบิกศาสตร์และเทคโนโลยีของซิลิกอนอสัณฐานที่เจือไฮโดรเจน (hydrogenated amorphous silicon) รวมถึงการพัฒนาระบบแสดงภาพจากรังสีเอ๊กซ์แบบจอแบน
โรเบิร์ต หรือที่เพื่อน ๆ เรียกว่า "บ๊อบ" ได้รับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในปี 1971 จากงานศึกษาวิจัยเรื่องฟิสิกส์ของแก้วคัลโคจีนายด์ (chalcogenide glasses) หลังจากนั้นได้ไปเป็นนักวิจัยหลังปริญญาเอก (postdoc) ที่มหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์ แล้วไปเป็นนักวิจัยเยี่ยมเยือน (visiting scientist) ที่สถาบันวิจัยแม็กพลังค์ที่เมืองสตุตการ์ด ประเทศเยอรมนี ต่อมาในปี 1976 ได้ไปร่วมงานกับ Palo Alto Research Center (PARC) ของบริษัท Xerox ที่แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
ที่ PARC บ๊อบได้เริ่มค้นคว้าวิจัยเรื่องการเคลื่อนย้ายของอิเล็กตรอน, ความไม่สมบูรณ์ (defects), การกลับมารวมตัวกัน (recombination) และบทบาทของไฮโดรเจนในซิลิกอนอสัณฐาน (amorphous silicon หรือ a-Si) จนในที่สุดได้เขียนเป็นตำราเกี่ยวกับคุณสมบัติของ a-Si ในช่วงปลายทศวรรษปี 1980 บ๊อบได้เริ่มวิจัยค้นคว้าเพื่อพัฒนาระบบแสดงภาพจากรังสีเอ๊กซ์แบบจอแบนโดยการประยุกต์ใช้ทรานซิสเตอร์และโฟโต้ไดโอดที่สร้างจากฟิมล์บาง a-Si จนในที่สุดในปี 1996 PARC ได้ตั้งบริษัทลูกขึ้นมาชื่อ "dpiX" เพื่อทำธุรกิจด้านเทคโนโลยีเอ๊กซ์เรย์ดิจิตอลซึ่งได้ครองตลาดด้านระบบแสดงภาพเอ๊กเรย์ทางการแพทย์มานับตั้งแต่นั้น
ปัจจุบันบ๊อบยังคงให้ความสำคัญกับการวิจัยพัฒนาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการแสดงภาพจากรังสีแบบจอแบน รวมถึงการพัฒนาทรานซิสเตอร์จากฟิมล์บางของเซมิคอนดักเตอร์สารอินทรีย์ การพิมพ์ลายวงจรด้วยลำเจ็ท จอภาพที่โค้งงอได้ ลวดนาโนซิลิกอน และเซลล์สุริยะที่มีโครงสร้างแบบใหม่ บ๊อบได้เคยตีพิมพ์ผลงานวิจัยมาแล้วประมาณ 400 เรื่อง และมีผลงานจดสิทธิบัตร 60 ชิ้น
เรียบเรียงจาก http://www.aip.org/industry/prize
การค้นพบบนดาวพฤหัสและดาวเสาร์ 50 ปีก่อน มีคำอธิบายแล้ว
หนูชอบช่วยเหลือพวกพ้องของตัวเอง—มนุษย์ก็อาจจะมีสายสัมพันธ์ที่เหมือนกัน
การถ่ายภาพด้วยแฟลชเอ็กซ์เรย์ของฟองอากาศที่เกิดจากเลเซอร์และ shockwaves ในน้ำ
การค้นพบอนุภาคสลับไปมาระหว่างสสารและปฏิสสารที่เซิร์น
Quantum Startup เทคโนโลยีควอนตัมสู่ภาคอุตสาหกรรม
Geant4-DNA simulation of radiation effects in DNA on strand breaks from ultra-low-energy particles
เทคโนโลยีไฮโดรเจนและเซลล์เชื้อเพลิง: เทคโนโลยีพลังงานสะอาดและยั่งยืน
คอมพิวเตอร์ควอนตัม: นวัตกรรมสุดล้ำที่จะพลิกโฉมธุรกิจและสังคมทศวรรษหน้า
S&T กับปาฏิหาริย์บนฝั่งแม่น้ำฮัน
การใช้ S&T พัฒนาเศรษฐกิจของชาติ: ตัวอย่างจากสิงคโปร์
การเป็นผู้นำตลาดของกระจกกอริลลา
เนเธอร์แลนด์กับเทคโนโลยีระดับโมเลกุลและนาโน
เบื้องหลังรางวัลจากการ R&D ผลึกเหลว
รถยนต์ไฟฟ้ากับระบบทำความเย็นแบบใหม่
เทคโนโลยีไมโครเวฟเพื่อชุมชนและ SME
ไมโครฟลูอิดิกส์...จากฟิสิกส์ของของไหลในท่อขนาดเล็กจิ๋วสู่นวัตกรรมการวินิจฉัยโรค
รางวัลนวัตกรรมยอดเยี่ยมประจำปี 2015 ของ IOP
บทเรียนจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมการให้แสงสว่าง
รางวัลการประยุกต์ด้านฟิสิกส์เพื่ออุตสาหกรรม ประจำปี 2015
การทำงานด้านฟิสิกส์ : ทำไมไม่เลือกทั้งคู่
นักฟิสิกส์ที่ภาคอุตสาหกรรมต้องการ