ในงานวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาผลึกเพอรอฟสไกต์ CH3NH3PbI3 ภายใต้สภาวะปกติและที่ความดันสูง โดยใช้วิธีฟังก์ชันนัลความหนาแน่น (ของอิเล็กตรอน) โดยผลึกที่ใช้จำลองมีลักษณะตามรูปที่ 1.6.1 ผู้วิจัยได้ศึกษาความสำคัญของอันตรกิริยาแบบแวนเดอร์วาลส์และค้นพบว่ามีส่วนสำคัญในการคงรูปโครงสร้างผลึกและในการหมุนของโมเลกุลเมทิลแอมโมเนีย (MA)
ที่ความดันสูง ผู้วิจัยได้พบการเปลี่ยนสถานะเชิงโครงสร้างจากโครงผลึกแบบ I4/mcm ไปเป็นแบบ Im3 ตามรูปที่ 2 การวางตัวของโมเลกุล MA มีผลอย่างมากต่อพลังงานของระบบ ในการจำลอง ผู้วิจัยได้ศึกษาการวางตัวหลักๆ 4 แบบ เรียกว่า Config1, Config2, Config3 และ Config4 เส้นประสีแดงเป็นเส้นที่แสดงโครงสร้างที่มีพลังงานเอนทัลปีต่ำสุดจึงเป็นโครงสร้างที่เสถียรที่สุดภายใต้ความดันสูง เมื่อเปรียบเทียบกับผลการทดลอง [1] แล้วพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตรและความดันมีลักษณะที่สอดคล้องกัน
ในลำดับถัดไป ผู้วิจัยจะคำนวณสมบัติทางฟิสิกส์อื่นๆ ได้แก่ ช่องว่างพลังงาน การดูดกลืนแสง ฯลฯ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงประสิทธิภาพของผลึกเพอรอฟสไกต์ในการนำไปทำเป็นวัสดุสำหรับเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ต่อไป
หัวหน้าโครงการ: รองศาสตราจารย์ ดร. อุดมศิลป์ ปิ่นสุข 1)