12 ตุลาคม 2563
จากรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ประจำปี 2020 ที่เพิ่งประกาศไป เมื่อวันอังคารที่ 6 ตุลาคม มาในแนวของ “หลุมดำ” ซึ่งผลการตัดสินรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ประจำปีนี้ เป็นของนักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ 3 ท่าน เป็นการแบ่งรางวัลออกเป็นสองส่วนเท่าๆ กัน ครึ่งหนึ่งมอบให้กับ ศาสตราจารย์โรเจอ เพนโรส (Sir Roger Penrose) สำหรับผลงานบุกเบิกการศึกษาหลุมดำ และอีกครึ่งหนึ่งเป็นรางวัลร่วมให้กับ ศาสตราจารย์ไรน์ฮาร์ด เกนเซล (Reinhard Genzel) และศาสตราจารย์แอนเดรีย เกซ (Andrea Ghez) สำหรับผลงานที่ร่วมกันศึกษาการเคลื่อนที่ของดวงดาวตรงบริเวณใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือก ... อ่านต่อ
17 สิงหาคม 2563
เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคมที่เพิ่งผ่านมา ณ ห้องโถงใหญ่ของอาคารหลักของโครงการ ITER ได้มีพิธีเริ่มต้นการประกอบติดตั้งเตาปฏิกรณ์ ITER อย่างเป็นทางการหลังจากชิ้นส่วนหลักๆของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชันแบบ Tokamak ที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้ถูกส่งมาถึงศูนย์วิจัย Cadarache ครบแล้ว ทั้งนี้มีประธานาธิบดีมาครง แห่งประเทศฝรั่งเศส ประเทศซึ่งเป็นที่ตั้งโครงการ เป็นประธานในพิธี ... อ่านต่อ
8 พฤษภาคม 2563
เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ได้มีการลงนามความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และสภาเกษตรกรจังหวัดราชบุรีกับระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และสภาเกษตรกรจังหวัดอุตรดิตถ์โดยอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์ นิเวศน์ นันทจิต ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดราชบุรี คุณ สุทิน ชฎาดำ และ ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดอุตรดิตถ์ คุณบัญชา อรุณเขต ในการขยายโครงการ “มช.-ราชบุรีโมเดล” ไปสู่จังหวัดอุตรดิตถ์ ... อ่านต่อ
20 มีนาคม 2563
Wolf Prize ของ Wolf Foundation ถือได้ว่าเป็นรางวัลสำคัญหนึ่งของโลกที่มอบให้แก่ผู้ที่มีผลงานโดดเด่นระดับสากลด้านวิทยาศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์เพื่อผลประโยชน์ของมวลมนุษยชาติและความสมานฉันท์ระหว่างหมู่ชน มูลนิธิวูล์ฟก่อตั้งโดย Richard Wolf เมื่อปีพ.ศ. 2518 และเป็นเจ้าภาพการมอบรางวัล Wolf Prize ทุกปีนับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2521 เป็นต้นมา ปัจจุบันสาขาที่มีการมอบรางวัล Wolf Prize ได้แก่ ฟิสิกส์, เคมี, คณิตศาสตร์, แพทยศาสตร์, เกษตรศาสตร์ และ ศิลปกรรมศาสตร์ (วนกันระหว่างจิตรกรรม, ปฏิมากรรม, ดนตรี และสถาปัตยกรรม) ... อ่านต่อ
20 ธันวาคม 2562
เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ได้มีการจัดพิธีมอบรางวัล Breakthrough Prizes ขึ้นที่ NASA Ames Research Center ในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 8 ของรางวัลนี้ เมื่อนับตั้งแต่เริ่มต้นขึ้นในปีพ.ศ. 2556 คณะมหาเศรษฐีผู้ก่อตั้งรางวัลนี้ (Sergey Brin, Priscilla Chan กับ Mark Zuckerberg, Ma Huateng, Yuri กับ Julia Milner และ Anne Wojcicki) ได้มอบเงินรางวัลให้กับนักวิทยาศาสตร์สาขาฟิสิกส์, คณิตศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ ... อ่านต่อ
26 พฤศจิกายน 2562
ในบรรดารางวัลเหรียญต่างๆ กว่า 20 รางวัล เช่น รางวัลเหรียญ Isaac Newton, รางวัลเหรียญ Michael Faraday, รางวัลเหรียญ Paul Dirac เป็นต้น ที่สถาบันฟิสิกส์แห่งสหราชอาณาจักร (Institute of Physics หรือ IOP) จะมอบให้แก่ผู้ที่ทำคุณประโยชน์ด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องกับฟิสิกส์เป็นประจำทุกปี รางวัลเหรียญ Dennis Gabor จะมอบให้แก่ผู้ที่มีส่วนอย่างสำคัญในการประยุกต์ใช้ฟิสิกส์เพื่อวงการธุรกิจและอุตสาหกรรม ... อ่านต่อ
17 ตุลาคม 2562
เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา Royal Swedish Academy of Sciences ได้ประกาศผลการตัดสินมอบรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ประจำปีพ.ศ. 2562 ให้แก่ 3 นักฟิสิกส์ที่ผลงานการค้นคว้าวิจัยมีส่วนอย่างสำคัญปฏิรูปความเข้าใจของมนุษยชาติเกี่ยวกับวิวัฒนาการของเอกภพและสถานะของโลกในจักรวาล นักฟิสิกส์ทั้ง 3 ท่านคือ ศาสตราจารย์ James Peebles, ศาสตราจารย์ Michel Mayor และศาสตราจารย์ Didier Queloz โดยศาสตราจารย์ Peebles จะได้รับรางวัลเป็นเงินมูลค่าประมาณ 14 ล้านบาท ส่วนศาสตราจารย์ Mayor กับศาสตราจารย์ Queloz จะได้รับท่านละประมาณ 7 ล้านบาท ... อ่านต่อ
3 กันยายน 2562
เมื่อวันที่ 26 เมษายน ที่ผ่านมา คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจาก University of Science and Technology of China (USTC) ที่เมืองเหอเฟย์ (Hefei) เมืองหลวงของมณฑลอานฮุย สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ประกาศผลรางวัลใหม่ทางด้านวิทยาศาสตร์ คือรางวัล Micius Quantum Prize รางวัลนี้มีจุดประสงค์ที่จะประกาศเกียรติคุณผู้ที่ทำให้เกิดความก้าวหน้าอย่างสำคัญในทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านสารสนเทศศาสตร์เชิงควอนตัม (quantum information science) ซึ่งหมายรวมถึงการสื่อสารเชิงควอนตัม (quantum communication), การจำลองเชิงควอนตัม (quantum simulation), การคำนวณเชิงควอนตัม (quantum computing) และการวัดความเที่ยงตรงสูงเชิงควอนตัม (precise quantum measurement) ฯลฯ ... อ่านต่อ
19 เมษายน 2562
ปีนี้เป็นครั้งที่ 7 ของ Breakthrough Prizes แล้ว ซึ่งคณะผู้สนับสนุนเงินรางวัลคือกลุ่มมหาเศรษฐีใจบุญประกอบด้วย Sergey Brin (ผู้ร่วมก่อตั้ง Google), Mark Zuckerberg (ผู้ร่วมก่อตั้ง Facebook) และภรรยา (Priscilla Chan), Ma Huateng (ผู้ก่อตั้ง Tencent), Yuri Milner (อดีตนักฟิสิกส์ ปัจจุบันเป็นนักลงทุนด้านเทคโนโลยี) และภรรยา (Julia Milner) และ Anne Wojcicki (ผู้ก่อตั้ง 23andMe) ... อ่านต่อ
13 กุมภาพันธ์ 2562
เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว สถาบันฟิสิกส์ (Institute of Physics หรือ IOP) แห่งสหราชอาณาจักร (UK) ได้จัดให้มีพิธีมอบรางวัลเหรียญเดนนิส เกเบอร์ ประจำปี 2561 แก่ ดร. นิลส์ เฮมเปลอร์ (รูปที่ 1) นักฟิสิกส์หัวหน้าแผนกนวัตกรรมของบริษัท M Squared Lasers แห่งกรุงกลาสโกว์ สก็อตแลนด์ ... อ่านต่อ
19 พฤศจิกายน 2561
เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรียได้มีการประกาศผลการตัดสินการคัดเลือกโครงการวิจัยและพัฒนา (R&D) ด้านวิทยาการควอนตัม จำนวน 20 โครงการ (รวมฝ่ายประสานงานและสนับสนุนอีก 1 กลุ่ม) ... อ่านต่อ
26 กรกฎาคม 2561
รางวัล Breakthrough Prize in Fundamental Physics ประจำปีพ.ศ. 2561 ได้มอบให้กับนักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ 5 ท่านคือ Norman Jarosik (มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน), Lyman Page (มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน), David Spergel (มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน), Charles L. Bennett (มหาวิทยาลัยจอห์นส์ฮอปกินส์ ซึ่งเป็นหัวหน้าโครงการ) และ Gary Hinshaw (ผู้จัดการโครงการประจำศูนย์ Goddard Space Flight Center ขององค์การนาซ่า(NASA) ที่มลรัฐแมรี่แลนด์ ... อ่านต่อ
25 เมษายน 2561
ดังที่เราท่านทราบกันดีแล้วว่า ศาสตราจารย์ สตีเฟน ฮอว์คิง เป็นนักฟิสิกส์สุดอัจฉริยะของโลก ที่มีร่างกายพิการอย่างมากจากโรค Amyotrophic Lateral Sclerosis (โรค ALS หรือโรค Lou Gehrig) จนต้องอยู่แต่บนเก้าอี้เข็นไฟฟ้าและเสียงพูดเป็นเสียงอิเล็กทรอนิกส์ ... อ่านต่อ
10 มกราคม 2561
รางวัลเหรียญดิแรค (Dirac Medal) เป็นรางวัลของสถาบัน International Center for Theoretical Physics (ICTP) ตั้งอยู่ที่ Trieste เมืองท่าทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอิตาลี ที่มอบให้กับนักวิทยาศาสตร์ที่มีผลงานวิจัยเด่นเกี่ยวข้องกับด้านฟิสิกส์ทฤษฎี ... อ่านต่อ
9 มกราคม 2561
บิดาของวิชากลศาสตร์ควอนตัม(Quantum Mechanics) อย่าง Max Planck ก็ดี หรือนักฟิสิกส์ที่ช่วยพัฒนาต่อๆมาอย่าง Max Born, Werner Heisenberg, Erwin Schrodinger หรือ Paul Dirac ก็ดี ทำงานค้นคว้าของท่านก็เพื่อความรู้บริสุทธิ์เป็นการพยายามอธิบายปรากฏการณ์ในธรรมชาติบางอย่างที่วิชาฟิสิกส์แบบดั้งเดิม (Classical Physics) ไม่สามารถให้คำตอบได้ เช่นเรื่องสเปกตรัมแสงของอะตอมต่างๆ ... อ่านต่อ
20 ตุลาคม 2560
รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ประจำปี 2560 ได้มอบให้แก่นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน 3 คน คือ Rainer Weiss, Kip Thorne และ Barry Barish จากความสำเร็จของผลงานในการร่วมกันพัฒนาโครงการ Laser Interferometer Gravitational-Wave Observatory (LIGO) เพื่อตรวจวัดคลื่นความโน้มถ่วง ซึ่งได้ประกาศการความสำเร็จครั้งแรกเมื่อ เดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้ว ... อ่านต่อ
20 ตุลาคม 2560
ในวันที่ 16 ตุลาคม 2560 มีการประกาศการค้นพบคลื่นความโน้มถ่วงที่เกิดจากการชนกันของดาวนิวตรอนของทีมนักวิจัยจาก LIGO เจ้าเก่า วันนี้เลยอยากจะพาทุกท่านดำดิ่งลึกลงไป ณ ใจกลางของดาวมวลมาก เพื่อดื่มด่ำทำความเข้าใจเกี่ยวกับการกำเนิด "ดาวนิวตรอน ... อ่านต่อ
4 สิงหาคม 2560
ทีมนักวิจัยจากประเทศไทย สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ซึ่งมีรองศาสตราจารย์ ดร. กิตติวิทย์ มาแทน จากภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นหัวหน้าโครงการ ประสบความสำเร็จในการทดลองค้นพบปรากฏการณ์ใหม่ของคลื่นสปินในวัสดุแม่เหล็กกลุ่มแอนติเฟร์โรแมกเนตที่ไม่มีสมมาตรการผกผัน ... อ่านต่อ
31 กรกฎาคม 2560
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ขอแสดงความยินดีแก่ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เดวิด รูฟโฟโล ที่ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2560 ... อ่านต่อ
15 กุมภาพันธ์ 2560
เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2559 มูลนิธิ Breakthrough ได้จัดพิธีมอบรางวัล Breakthrough Prize ประจำปีพ.ศ. 2560 ขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ใกล้เมือง Mountain View (เป็นที่ตั้งของบริษัท Google) มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ... อ่านต่อ
10 ตุลาคม 2559
ผลการตัดสินรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ประจำปีพ.ศ. 2559 เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม เวลา 10:45 น. ตามเวลามาตรฐานกรีนิชที่ได้มอบให้กับนักฟิสิกส์ 3 ท่านคือ David Thouless, Duncan Haldane และ Michael Kosterlitz ... อ่านต่อ
12 กันยายน 2559
ทีมนักธรณีฟิสิกส์ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร. วีระชัย สิริพันธ์วราภรณ์ แห่งศูนย์วิจัยแผ่นดินไหว ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เผยแพร่ผลงานการศึกษาวิจัยแผ่นดินไหวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยปัจจุบันเป็นครั้งแรก ในวารสารJournal Asian Earth Sciences ... อ่านต่อ
25 กรกฎาคม 2559
ผลงานวิจัยของอาจารย์ ดร. ทีปานิส ชาชิโย ได้รับการยอมรับนำขึ้นพาดหัวข่าวในคอลัมน์ Physics Update ของวารสาร Physics Today (online เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2559) ... อ่านต่อ
25 กุมภาพันธ์ 2559
ในบรรดาแรงธรรมชาติพื้นฐาน 4 แรงคือ แรงโน้มถ่วง แรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงนิวเคลียร์แบบเข้ม และแรงนิวเคลียร์แบบอ่อน แรงโน้มถ่วงเป็นแรงพื้นฐานที่นักฟิสิกส์ได้ศึกษาทำความเข้าใจก่อนใครเพื่อน ย้อนหลังไปยังงานของนิวตัน และก่อนหน้านั้นก็กาลิเลโอ จนถึงโคเพอร์นิคัส ... อ่านต่อ
6 พฤศจิกายน 2558
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ ขอแนะนำหนังสือ "เครื่องเร่งอนุภาค: การกำเนิดและการใช้งานเชิงฟิสิกส์และประยุกต์เพื่อสังคมไทย" ซึ่งเป็นเรื่องราวของเครื่องเร่งอนุภาคที่ออกแบบสร้างและ/หรือติดตั้งโดยนักฟิสิกส์และวิศวกรไทย ... อ่านต่อ
5 พฤศจิกายน 2558
เมื่ออิเล็กตรอนความเร็วสูงเคลื่อนที่ผ่านสนามแม่เหล็กของอันดูเลเตอร์ จะเกิดการเคลื่อนที่แบบส่ายและเกิดการปลดปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาโดยมีโพรงแสงทำหน้าที่สะสมพลังงาน ในลักษณะเช่นเดียวกับ Laser cavity ... อ่านต่อ
17 ตุลาคม 2558
เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2558 ที่ผ่านมา คณะกรรมการรางวัลโนเบลของประเทศสวีเดนได้ประกาศชื่อผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ประจำปีพ.ศ. 2558 ซึ่งได้แก่ศาสตราจารย์ TakaakiKajitaและศาสตราจารย์ Arthur B. McDonald ... อ่านต่อ
16 มีนาคม 2558
องค์การสหประชาชาติ (UN) ได้มอบหมายให้องค์การยูเนสโก (UNESCO) เป็นเจ้าภาพรณรงค์ให้ปีพ.ศ. 2558 นี้ เป็น “ ปีสากลของแสงและเทคโนโลยีที่มีแสงเป็นฐาน (International Year of Light and Light-based Technologies หรือ IYL 2015)” เพื่อยกระดับการตระหนักรู้ของประชาชาติทั้งมวลถึง ... อ่านต่อ
20 มกราคม 2558
เป็นรางวัลที่มอบให้กับนักฟิสิกส์ที่มีส่วนอย่างสำคัญในการจุดประกายคำเฉลยต่อคำถามต่างๆที่ลึกล้ำที่สุดของจักรวาล สำหรับรางวัลนี้ของปีพ.ศ. 2558 ได้มีการประกาศชื่อและมอบรางวัลกันไปแล้ว เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 รายนามผู้ที่ได้รับรางวัลคือ ... อ่านต่อ
24 พฤศจิกายน 2557
ระหว่างวันที่ 6-7 พ.ย. 2557 ณ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนานยาง (NTU) สาธารณรัฐสิงคโปร์ ... อ่านต่อ
14 ตุลาคม 2557
คณะกรรมการรางวัลโนเบลของประเทศสวีเดน ประกาศเมื่อวันอังคารที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมาว่า รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ประจำปีค.ศ. 2014 ได้ตัดสินมอบให้แก่นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น 3 คนคือ ศาสตราจารย์ อิซามุ อากาซากิ (แห่งมหาวิทยาลัย Meijo และ มหาวิทยาลัย Nagoya) ศาสตราจารย์ ฮิโรชิ อามาโน (แห่งมหาวิทยาลัย Nagoya) และศาสตราจารย์ ชูจิ นากามูระ (แห่ง University of California ณ เมือง Santa Barbara) ... อ่านต่อ
18 สิงหาคม 2557
รางวัลเหรียญดิแรค (Dirac Medal) นี้ เป็นรางวัลที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติกับศาสตราจารย์ Paul Adrien Maurice Dirac (รูปที่ 1) นักฟิสิกส์ทฤษฎีชาวอังกฤษที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของศตวรรษที่ 20 รางวัลนี้ที่เริ่มให้กันตั้งแต่เมื่อปีพ.ศ. 2528 จะมอบให้กับนักวิทยาศาสตร์ที่มีผลงานโดดเด่นทางด้านฟิสิกส์ทฤษฎี โดยจะประกาศผลทุกวันที่ 8 สิงหาคม ... อ่านต่อ
2 มกราคม 2557
ศูนย์ความเป็นเลศด้านฟิสิกส์ขอแสดงความยินดีกับ นางสาวพิมลพรรณ ส้มเพ็ชร นักศึกษาปริญญาเอกสาขาวิชาฟิสิกส์ ภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และนักศึกษาในสังกัดห้องปฏิบัติการวิจัยทัศนศาสตร์เชิงอะตอมควอนตัม ที่ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ ... อ่านต่อ
18 ธันวาคม 2556
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ขอแสดงความยินดีกับ ศาสตราจารย์ ดร.เดวิด รูฟโฟโล (David John Ruffolo) หัวหน้าห้องปฏิบัติการวิจัยฟิสิกส์ดาราศาสตร์และอวกาศ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ และ ... อ่านต่อ
12 ธันวาคม 2556
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ขอแสดงความยินดีกับนางสาวอภิชญาพร รัตคธา และนางสาวณัฐมาศ ทับศรีนวลเนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ คัดเลือก ... อ่านต่อ
11 ธันวาคม 2556
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ขอเชิญชวนนักศึกษา นักวิจัย และผู้สนใจเข้าร่วมงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ The 2nd AGRC 2014 (The 2nt ASEAN Plus Three Graduate Research Congress and The 2nd Forum of the Deans of ASEAN Plus Three Graduate Schools)โดยภายในงานจะเกี่ยวข้องกับงานวิจัย ทั้ง 4 ด้าน ดังนี้ ... อ่านต่อ
2 ธันวาคม 2556
ขอเชิญเข้าร่วมโครงการ The 3rd Particle Physics School in South-East Asia ระหว่างวันที่ 9-15 มีนาคม 2557 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้ถึงวันที่ 25 ธันวาคม 2556 ... อ่านต่อ
11 พฤศจิกายน 2556
ประเภทอาจารย์รุ่นใหม่ดีเด่น สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ประจำประเทศไทย (สออ.ประเทศไทย) ... อ่านต่อ
10 ตุลาคม 2556
Royal Swedish Academy of Sciences ได้ประกาศที่กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน เมื่อวันที่ 8 ตุลาคมที่ผ่านมาว่า รางวัลโนเบลฟิสิกส์ประจำปี 2013 ได้ตัดสินมอบให้แก่นักฟิสิกส์ทฤษฎี 2 ท่านคือ ศาสตราจารย์ Francois Englert กับ ศาสตราจารย์ Peter W. Higgs ด้วยเหตุผล “สำหรับการค้นพบเชิงทฤษฎีถึงกลไกที่ทำให้เราเข้าใจจุดกำเนิดของมวลของอนุภาคมูลฐาน ... อ่านต่อ
1 ตุลาคม 2556
โดยสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทยเปิดรับสมัครนักวิจัยรุ่นเยาว์ชาวไทยทุกสาขา เพื่อให้ทุนไปทำวิจัยระยะสั้นที่ประเทศฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2557 ผู้สนใจสามารถสมัครได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ... อ่านต่อ
28 สิงหาคม 2556
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ขอแสดงความยินดีกับ ผศ. ดร.วรวัฒน์ มีวาสนา นักวิจัยศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ สังกัดห้องปฏิบัติการวิจัยนาโนสเปกโตรสโกปีที่ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์จาก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ... อ่านต่อ
19 สิงหาคม 2556
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมการอบรม เรื่อง "การเคลือบในสูญญากาศกับการประยุกต์ทางอุตสาหกรรม" วันที่ 4 กันยายน 2556 ณ ห้องเทา-ทอง 1 ศูนย์ปฏิบัติการโรงแรมเทา-ทอง ... อ่านต่อ