ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2551-2555)
การดำเนินงานของศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ ในระยะที่ 1 และระยะเปลี่ยนผ่าน (พ.ศ. 2556-2558)
เป็นการดำเนินงานโครงการวิจัยแบบ discipline based ตามความถนัดและความเชี่ยวชาญของห้องปฎิบัติการวิจัย
ประกอบด้วย 5 คลัสเตอร์ ได้แก่
- คลัสเตอร์ทางฟิสิกส์ของฟิล์มบาง
- คลัสเตอร์ทางฟิสิกส์ของลำอนุภาคและพลาสมา
- คลัสเตอร์ทางนาโนสเกลฟิสิกส์
- คลัสเตอร์ทางฟิสิกส์บูรณาการ
- คลัสเตอร์ทางฟิสิกส์คำนวณและทฤษฏี
มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบุคลากรทางด้านฟิสิกส์ที่มีความรู้ความสามารถระดับสากล สร้างองค์ความรู้ใหม่และนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมและสังคมโดยรวม
ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์ ในการดำเนินงานระยะที่ 1 ดังนี้
วิสัยทัศน์
- เป็นเลิศทางการวิจัยและบัณฑิตศึกษาทางฟิสิกส์ในภูมิภาคอุษาคเนย์
พันธกิจ
- พัฒนางานวิจัยและเทคโนโลยีเพื่อรองรับการพัฒนาประเทศให้แข่งขันกับประเทศอื่นและพึ่งตนเองได้
- สร้างนักฟิสิกส์ระดับสูงที่มีคุณภาพระดับสากล
- บริหารจัดการองค์ความรู้ งานวิจัย และนวัตกรรม
เป้าประสงค์
- เพื่อเพิ่มศักยภาพและความเข้มแข็งในการวิจัยและการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาสาขาวิชาฟิสิกส์ให้ทัดเทียมกับต่างประเทศ
- เพื่อเร่งรัดการสร้างบุคลากรสาขาวิชาฟิสิกส์ให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและให้มีคุณภาพระดับสากล
- เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการวิจัยทางฟิสิกส์และสร้างองค์ความรู้ รองรับการพัฒนาเทคโนโลยีระดับสูงของประเทศเพื่อการพึ่งพาตนเอง และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
- เพื่อบริหารจัดการองค์ความรู้ งานวิจัย และนวัตกรรมในเชิงพาณิชย์
ยุทธศาสตร์
- ยุทธศาสตร์การผลิตงานวิจัยเพื่อลดผลกระทบจากกระแสโลกาภิวัตน์ที่มีต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคม และส่งเสริมความสามารถในการแข่งขัน มีความสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ
- ยุทธศาสตร์การผลิตครูผู้สอนและนักวิจัยฟิสิกส์ที่มีคุณภาพ
- ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการงานวิจัยและนวัตกรรมเชิงพาณิชย์
ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2559-2563)
การพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ ระยะที่ 2 จะให้ความสำคัญกับยุทธศาสตร์การผลิตผลงานวิจัยและนักวิจัยฟิสิกส์ที่มีศักยภาพอย่างต่อเนื่องจากระยะที่ 1
โดยเน้นการผลิตงานวิจัยที่มีผลกระทบเชิงเศรษฐศาสตร์ (economic impact) ได้แก่ ผลกระทบเชิงวิชาการ (academic impact) ผลกระทบเชิงสังคม (social impact)
และผลกระทบเชิงอุตสาหกรรม (industrial impact) ในลักษณะ demand-driven คือ การนำความต้องการวิจัยของประเทศเป็นกรอบดำเนินการ งานวิจัยมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการตอบโจทย์ตามยุทธศาสตร์ชาติ
ตลอดจนมุ่งเน้นที่จะมีส่วนร่วมในการสนับสนุนงานวิจัยที่สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศไปเป็น Creative Economy อย่างแท้จริง โดยมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์ การพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ ระยะที่ 2 ดังนี้
วิสัยทัศน์
เป็นศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ชั้นนำในอาเซียนเพื่อเป็นกุญแจดอกสำคัญของการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและพึ่งพาตนเองด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย
พันธกิจ
- พัฒนานักฟิสิกส์ให้มีคุณภาพระดับสากล พร้อมทั้งสร้างศักยภาพครูผู้สอนให้สามารถทำหน้าที่ประสาทวิชาและให้เทคนิคการเรียนรู้แก่เด็กไทยเพิ่มสูงมากขึ้น
- สนับสนุนและส่งเสริมงานวิจัยและการพัฒนาด้านฟิสิกส์ให้มีปริมาณและคุณภาพที่เอื้อต่อการพัฒนาประเทศสู่การเป็น Creative Economy และแข่งขันกับประเทศผู้นำด้านฟิสิกส์
- บริหารจัดการนวัตกรรมฐานฟิสิกส์เพื่อผลักดันให้มีการใช้ประโยชน์งานวิจัยในเชิงวิชาการ สังคม และพาณิชย์ที่สอดคล้องกับหลักการของ Creative Economy
- เสริมสร้างโครงสร้างและปัจจัยพื้นฐานเพื่อความเข้มแข็งและการพึ่งพาตนเองของการวิจัยเชิงฟิสิกส์ของประเทศ
- เตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์สู่การเป็นองค์กรในกำกับที่พึ่งพาตนเองได้
เป้าประสงค์
- เร่งรัดการพัฒนาบุคลากรทางฟิสิกส์คุณภาพสูงระดับสากลโดยเฉพาะสาขาขาดแคลนในภาคการผลิตและบริการ เพื่อรองรับการพัฒนาเทคโนโลยีระดับสูงในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนและการเป็น Creative Economy
- เพิ่มศักยภาพและความเข้มแข็งในการวิจัยและพัฒนาฟิสิกส์ด้วยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับสถาบันวิจัยและสถาบันการศึกษาชั้นนำของโลก เพื่อพัฒนาระบบการเรียนการสอนวิชาฟิสิกส์ในทุกระดับให้ทัดเทียมกับประเทศชั้นนำ เพื่อรองรับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนและการเป็น Creative Economy
- บริหารจัดการนวัตกรรมฐานฟิสิกส์เพื่อนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงวิชาการ สังคม และพาณิชย์
- พัฒนาห้องปฏิบัติการวิจัย/เครื่องมือวิจัยทางฟิสิกส์ให้มีมาตรฐานสากล เพื่อเพิ่มคุณภาพของการวิจัยให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล
ยุทธศาสตร์
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนและนักวิจัยฟิสิกส์
เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนครูผู้สอนวิชาฟิสิกส์ที่มีคุณภาพและนักวิจัยฟิสิกส์ที่เข้มแข็ง เพื่อตอบสนองการยกระดับการพัฒนาประเทศจากการเน้นการใช้แรงงานและทรัพยากรธรรมชาติ
อย่างสิ้นเปลืองเป็นหลักไปสู่การใช้องค์ความรู้และความคิดสร้างสรรค์เป็นหลัก
- ยุทธศาสตร์การผลิตงานวิจัยและพัฒนา
ให้สามารถตอบสนองความต้องการทางวิชาการสู่ความเป็นเลิศ ทางสังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต รวมทั้งด้านภาคการผลิตและบริการเพื่อเพิ่มมูลค่า
- ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการนวัตกรรมฐานฟิสิกส์เพื่อการพัฒนาประเทศ
ให้ความสำคัญกับการนำผลงานวิจัยที่ผ่านมาไปใช้ประโยชน์ผ่านระบบบ่มเพาะ ตั้งแต่การสร้างต้นแบบจนถึงการใช้งานจริง
โดยเน้นการสร้างเครือข่ายกับภาคการผลิตและบริการ เพื่อให้เกิดงานวิจัยที่ตอบสนองความต้องการของประเทศอย่างแท้จริง
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาเครื่องมือวิจัยกลางด้านฟิสิกส์
เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานรองรับการวิจัยและให้บริการ
โดยพัฒนาและติดตั้งเครื่องมือวิจัยกลางขนาดใหญ่ให้สามารถทำงานวิจัยเปิดแดน (frontier research)
และพัฒนาเทคโนโลยีแนวหน้า (cutting-edge technology) ได้ เพื่อให้สอดรับกับการเป็น Creative Economy ของประเทศ